พ.ศ.๒๕๐๔ | ฯพณฯจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำโครงการผลิตพยาบาลกองทัพบก |
พ.ศ.๒๕๐๖ | จัดตั้งโรงเรียนทางพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยของกองทัพบก พร้อมอนุมัติจัดสรรงบประมาณเป็นค่าใช้ จ่ายตามโครงการ ตามหนังสือ ยก.ทบ. ลับ ที่ ๗๕๕/๐๖ ลง ๑๙ สิงหาคม ๒๕๐๖ |
ผู้ช่วยพยาบาลให้แก่หน่วยงานของกองทัพบก เพื่อสนับสนุนการบริการด้านส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสุขภาพ |
พ.ศ.๒๕๒๗ | ยกวิทยฐานะเป็นวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก จัดเป็นหน่วยขึ้นตรงต่อศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก ได้มีการปรับปรุงอัตรากำลังพลใหม่เข้าไว้ในอัตราของวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ตามคำสั่ง กองทัพบก (เฉพาะ) ที่ ๒๗๗/๒๗ เรื่อง แก้อัตรากองทัพบก ๒๕๐๖ (ครั้งที่ ๒๙) ลง ๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๗ |
พ.ศ.๒๕๒๙ | เป็นสถาบันสมทบมหาวิทยาลัยมหิดล ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การรับวิทยาลัยพยาบาล กองทัพบกเข้าสมทบในมหาวิทยาลัยมหิดล ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๙ นรพ.หลักสูตรพยาบาลศาสตร บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก เมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับพระราชทานปริญญาบัตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.) จากมหาวิทยาลัยมหิดล (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๓ ตอนที่ ๑๐๙ ลงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๒๙) |
พ.ศ.๒๕๓๒ | ได้รับการรับรองหลักสูตรและสถาบันการศึกษาที่ทำการสอนและเปิดอบรมวิชาการพยาบาลและผดุงครรภ์ ตามข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรับรอง สถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.๒๕๑๙ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๓๒ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๔๗ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๓๒) |
ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม ให้แก่ทหาร ครอบครัว และประชาชนทั่วไป ได้มีการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่และหลักสูตรมาโดยตลอด |
การผลิตพยาบาลวิชาชีพ
พ.ศ.๒๕๐๗ –๒๕๑๖ | เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยกองทัพบก หลักสูตร ๔ ปี รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หรือมัธยม ๖ ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้รับประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย ผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน ๕๔๘ นาย จากรุ่นที่ ๑ – ๑๐ บรรจุเข้ารับราชการในหน่วยรักษาพยาบาลกองทัพบก ยศจ่าสิบตรีหญิง |
พ.ศ.๒๕๑๗ – ๒๕๒๓ | เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยกองทัพบก (เทียบเท่าอนุปริญญา) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ระยะเวลาการศึกษา ๓ ปี ๖ เดือน ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ (เทียบเท่าอนุปริญญา) มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวน ๓๙๑ นาย จากรุ่นที่ ๑๑ – ๑๗ บรรจุรับราชการในหน่วยรักษาพยาบาลของกองทัพบก และได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยตรีหญิง |
พ.ศ.๒๕๒๔ – ๒๕๒๗ | เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ (เทียบเท่าปริญญาตรี) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ระยะเวลาการศึกษา ๔ ปี ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร จะได้รับประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ (เทียบเท่าปริญญาตรี) มีผู้สำเร็จการศึกษา ๕๐ นาย คือ รุ่นที่ ๑๘ บรรจุเข้ารับราชการในหน่วยรักษาพยาบาลของกองทัพบก และได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยตรีหญิง |
พ.ศ.๒๕๒๘ – ๒๕๓๓ | เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) โดยรับผู้สำเร็จการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ หรือมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ระยะเวลาการศึกษา ๔ ปี มีผู้สำเร็จการศึกษา คือ รุ่นที่ ๑๙ – ๒๗ จำนวน ๕๗๔ นาย บรรจุเข้ารับราชการในหน่วยรักษาพยาบาลของกองทัพบก และได้รับพระราชทานยศเป็น ร้อยตรีหญิง |
พ.ศ.๒๕๓๔ – ๒๕๔๒ | เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ๒๕๓๓) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นชุมชนเพื่อสอดคล้องกับแผนพัฒนาการสาธารณสุขแห่งชาติ ได้รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที ๖ ระยะเวลาการศึกษา ๔ ปี มีผู้สำเร็จการศึกษาตั้งแต่รุ่นที่ ๒๘ – ๓๓ จำนวน ๔๔๙ นาย บรรจุเข้ารับราชการในหน่วยรักษาพยาบาลของกองทัพบก และได้รับพระราชทานยศเป็นร้อยตรีหญิง และหลักสูตรนี้ยังใช้กับนักเรียนพยาบาลกองทัพบกรุ่นที่ ๓๔ และ ๓๕ |
พ.ศ.๒๕๔๒ – ๒๕๔๗ | เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ๒๕๔๒) โดยรับ ผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ระยะเวลาการศึกษา ๔ ปี มีผู้สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ ๓๖ – ๓๙ จำนวน ๒๕๒ นาย |
พ.ศ.๒๕๔๓ | เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ต่อเนื่อง) ๑ ๑/๒ ปี โดยรับพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยและหลักสูตรประกาศนียบัตรพยาบาลผดุงครรภ์อนามัย (เทียบเท่าอนุปริญญา) จากวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก หรือวิทยาลัยในสังกัดของกระทรวงกลาโหมเป็นโครงการระยะเวลา ๕ ปี (ปี ๒๕๔๓ – ๒๕๔๗) รับนักศึกษา รุ่นแรกจำนวน ๕๐ นาย และรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นในรุ่นที่ ๒ และ ๓ เป็นจำนวน ๖๐ นาย จัดการเรียนการสอนในวันเสาร์ –อาทิตย์ มีผู้สำเร็จการศึกษารวมทั้งสิ้น ๑๖๒ นาย |
พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๕๓ | เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ๒๕๔๙) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติการพยาบาล โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ระยะเวลาการศึกษา ๔ ปี เปิดสอนให้กับนักเรียนพยาบาล รุ่นที่ ๔๒ เป็นรุ่นแรก จำนวน ๑๐๐ นาย ต่อรุ่น โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา รุ่นที่ ๔๒ – ๔๕ จำนวน ๓๘๑ นาย |
พ.ศ.๒๕๕๔ | เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ๒๕๔๙) รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ระยะเวลาการศึกษา ๔ ปี เปิดสอนให้กับนักเรียนพยาบาลรุ่นที่ ๔๘ โดยปรับลดจำนวนเป็นรุ่นละ ๘๐ นาย |
พ.ศ.๒๕๕๕ – ปัจจุบัน | เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง ๒๕๕๕) รับผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ระยะเวลาการศึกษา ๔ ปี เปิดสอนให้กับนักเรียนพยาบาลรุ่นที่ ๔๙ – ๕๑ จำนวนรุ่นละ ๘๐ นาย |
การผลิตผู้ช่วยพยาบาล
พ.ศ.๒๕๑๒ – ๒๕๓๓ | อนุมัติจากกองทัพบกให้เปิดสอนหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลเป็นหลักสูตรเฉพาะกาลใช้ระยะเวลาการศึกษา ๑ ปี |
ในช่วงแรก (พ.ศ.๒๕๑๒ – ๒๕๑๗) | ผลิตผู้ช่วยพยาบาลรุ่นที่ ๑ – ๕ จำนวน รุ่นละ ๕๐ นาย |
ในช่วงที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๒๓ – ๒๕๒๖) | ผลิตผู้ช่วยพยาบาลรุ่นที่ ๖ – ๙ จำนวน รุ่นละ ๕๐ นาย |
ในช่วงที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๒๗ – ๒๕๓๓) | ผลิตผู้ช่วยพยาบาลรุ่นที่ ๑๐ – ๑๓ จำนวน รุ่นละ ๗๐ นาย |
เมื่อสำเร็จการศึกษาได้รับการบรรจุเข้ารับราชการเป็นลูกจ้างประจำกองทัพบก |
พ.ศ.๒๕๓๓ – ๒๕๔๗ | เปิดสอนหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล (ฉบับปรับปรุง ๒๕๓๓) โดยปรับเปลี่ยนเนื้อหารายวิชาการพยาบาลเพิ่มเติม และวิชาการทางทหารเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถปฏิบัติการพยาบาลในขอบเขตของความรับผิดชอบในหน้าที่ของผู้ช่วยพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรับผู้สำเร็จการศึกษาจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เปิดสอนให้กับนักเรียนผู้ช่วยพยาบาล รุ่นที่ ๑๔ เป็น รุ่นแรก ซึ่งนับว่าหลักสูตรนี้เป็นช่วงที่ ๔ (พ.ศ.๒๕๓๕ – พ.ศ.๒๕๔๔) ผลิตผู้ช่วยพยาบาลรุ่นที่ ๑๔ – ๒๓ จำนวนรุ่นละ ๗๐ นาย รวมทั้งสิ้น ๑๐ รุ่น โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน ๖๙๓ นาย ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกองทัพบก เป็นนายทหารชั้นประทวน ในชั้นยศสิบตรี |
พ.ศ.๒๕๔๘ – ๒๕๕๓ | เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๔๘) หลักสูตรเน้นการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน โดยครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแล และการฟื้นฟูสุขภาพทั้งในภาวะสุขภาพปกติ และเจ็บป่วย เปิดสอนให้กับนักเรียนผู้ช่วยพยาบาล รุ่นที่ ๒๔ เป็นรุ่นแรก โดยผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง ซึ่งนับว่าหลักสูตรนี้ เป็นช่วงที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๔๘ – พ.ศ.๒๕๕๓) ผลิตผู้ช่วยพยาบาลรุ่นที่ ๒๔ – ๒๙จำนวน รุ่นละ ๑๐๐ นาย รวมทั้งสิ้น ๖ รุ่น โดยมีผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน ๕๙๑ นาย การบรรจุเข้ารับราชการในอัตราจ้างของโรงพยาบาลในสังกัดกองทัพบก ขึ้นอยู่กับอัตราว่างในแต่ละปีของแต่ละโรงพยาบาล |
พ.ศ.๒๕๕๔ – ปัจจุบัน | เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.๒๕๕๔) หลักสูตรเน้นให้มีความสอดคล้องกับข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล พ.ศ.๒๕๕๒ ให้มีโครงสร้างตามเกณฑ์สภาการพยาบาล เปิดสอนให้กับนักเรียนผู้ช่วยพยาบาล รุ่นที่ ๓๐ เป็นรุ่นแรก โดยผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด |